Year End Wrap Up: Lessons from 2019

Punnapa Yoswaris
4 min readDec 30, 2019

--

365 วันที่ผ่านมาในปีนี้เป็นยังไงกันบ้างพี่จ๋า เราหวังว่าทุกคนจะมีวันดีๆ มากกว่าวันที่ไม่ดี และแน่นอนว่ากลับมาพบกับบทความส่งท้ายปลายปีจากเรา ซึ่งเป็นความตั้งใจที่เราอยากจะเขียนและแชร์ประสบการณ์ รวมถึงความรู้สึกต่างๆ ที่เราได้ผ่านและเรียนรู้มาในปีนี้ด้วย

ปีนี้เป็นปีที่เราได้ก้าวเข้าสู่การเป็นเด็กวัยรุ่นตอนปลายที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ยิ่งโตมากขึ้นเท่าไหร่ เรากลับรู้สึกว่า เราอยากใช้ชีวิตให้เป็นเสมือนโรงเรียนอนุบาล ซึ่งนั่นไม่ใช่แค่เพราะเราอยากกลับไปเป็นเด็ก แต่เราคิดว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตแบบ “Just live” ที่สุดแล้ว

วัยอนุบาลคือช่วงเวลาที่เราได้เชื่อในความฝันอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย ได้ทำสิ่งต่างๆโดยไม่ต้องคิดว่าจะเสี่ยงแค่ไหน หรือการได้เงินไปโรงเรียนแค่ 20 บาทแต่ก็รู้สึกว่ามันมากมายเหลือเกิน แล้วยังมี life balance ดีๆ อย่างการได้นอนตอนกลางวันและได้เล่นของเล่นที่ชอบอีก เป็นต้น

ดังนั้น คงไม่แปลกถ้าจะบอกว่า ปีนี้ในวัย 21 ปี เรากลับรู้สึกเหมือนได้ใช้ชีวิตในโรงเรียนอนุบาลอีกครั้ง เพราะเราได้ใช้ชีวิตกับสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ ได้เรียนรู้บทเรียนจากงานหรือโอกาสที่ได้ทำ ได้เล่นสนุกกับเพื่อนๆ ได้พักผ่อนกับครอบครัว หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้ที่จะยอมให้ตัวเองได้พักและมีความสุข และในวันนี้เราจะขอมาแชร์ 9 สิ่งที่ปี 2019 ได้ให้กับเรากัน

Lesson 1: Young Talent Startup Trainee Program โดย Chula Tech Startup

key learning: connection

เริ่มต้นปีมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เรามีโอกาสเริ่มบทเรียนแรกโดยการได้สมัครและเข้าร่วมโครงการ Young Talent Startup Trainee Program ซึ่งเป็นโครงการในชมรม Chula Tech Startup ที่ให้เราได้มาเรียนรู้และลองคิดไอเดียธุรกิจร่วมกับทีมที่ได้มา matching กันในโครงการ รวมถึงมี workshop ต่างๆ ให้เข้าในระหว่างโครงการ เช่น เกี่ยวกับแผนธุรกิจ การออกแบบ UX/UI รวมไปถึงการ Pitching (จริงๆ มีอีกเยอะเลย) ซึ่งทำให้เราได้ทั้งสร้างไอเดียร่วมกับทีมและได้เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นในการทำสตาร์ทอัพจาก Founder ผ่าน workshop ไปพร้อมกันเลย

การเข้าโครงการนี้ทำให้เราได้เปิดโลกในมหาลัยมากขึ้น ได้เจอคนเก่งๆ จากคณะต่างๆ เยอะมาก รวมถึงได้เจอกับทีม ทั้งพี่เนย พี่สายไหม ตี๋และจอย ซึ่งพวกเราได้ทำไอเดียชื่อว่า “UniWork” ซึ่งเป็นพื้นที่ออนไลน์ที่ช่วยคอนเนคระหว่างนิสิตที่มีความสามารถ กับงานที่พวกเขาสนใจและสามารถทำได้ระหว่างเรียน ขอบอกว่าถึงแม้เราจะรู้สึกหลงทางกันในหลายๆ ครั้ง แต่สุดท้ายมันก็ออกมาดี ขอบคุณพี่เนยที่ดีไซน์งานสวยๆ กับพี่สายไหมที่สู้การกับ pitching มาก รวมถึงดีใจที่ได้ทำงานกับตี๋และจอยด้วย

Lesson 2: Grab Campus Challenge 2019

key learning: challenging

บทเรียนที่ 2 กับการอยากลองสิ่งใหม่ๆ ที่อยากทำ ต้องได้ทำ! กับการแข่งทำ marketing เพื่อหาตลาดใหม่ๆให้กับ Grab ซึ่งเราได้ชวนเพื่อนๆ ที่น่ารัก (กัดฟัน) อย่างเจมและตี๋มาทำด้วยกันด้วยเหตุผลที่ว่า “เห้ย จะมีโค้ดส่วนลดเป็นของตัวเองด้วยนะ” แล้วเราก็ได้ลองมาทำกันจริงๆ จนทำให้เราติดเป็นหนึ่งใน 8 ทีม จากเป็นร้อยทีมด้วย

The Pintho- โรส เจม ตี๋

ซึ่งตั้งแต่ตอนที่ได้คุยกันจนได้ไป pitching ให้พี่ๆ ที่ Grab ฟังเป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆ เพราะเป็นครั้งแรกเลยจริงๆ ที่พวกเราทั้งสามคนได้ฉีกตัวเองออกมาลองทำการตลาดดู ด้วยความที่เจมเรียนไอทีและตี๋เรียดวิศวะ ส่วนเรานั้นเรียนรัฐศาสตร์ การได้มาทำตรงจุดนี้ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่สำหรับพวกเราทีเดียว

มากไปกว่านั้นนี่ยังเป็นครั้งแรกที่เราได้คิดทำคอนเทนท์ในแบบที่ตัวเองอยากลอง ได้ลองยิงโฆษณา ได้ลุ้นกับการเป็น Marketer ฝึกหัดที่ต้องดูทั้งยอดดาวน์โหลดและยอดใช้งานโค้ดส่วนลด รวมถึงยอด reach ต่างๆ ของคอนเทนท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งเครียด แต่ก็สนุกและท้าทายในเวลาเดียวกัน

สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ติด Top 3 ในการทำยอดได้สูงสุด แต่ทีมของพวกเราก็ได้รางวัล Best presentation แล้วเราก็ภูมิใจกับทีมและตัวเองมาก ๆ ที่สามารถทำยอดออนไลน์ได้เยอะที่สุด การได้มาทำ Grab Campus Challenge 2019 ทำให้เราได้ก้าวออกจาก comfort zone อีกสเตปนึง รวมถึงเป็นงานที่เราทุ่มเทมากๆ แล้วเราก็ไม่เสียใจเลยที่วันนั้นได้ตัดสินใจกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะสมัคร

Lesson 3: Summer Course of the Polish Language and Culture 2019 Scholarship

key learning: endeavour

มาถึงบทเรียนที่ 3 ที่สอนเราเรื่องของความพยายามและการเชื่อมั่นในตัวเองระดับนึงเลย เพราะนี่เป็นการสมัครทุนต่างประเทศแบบจริงๆ จังๆ ครั้งแรกของเราเลยกับ Summer Course of the Polish Language and Culture 2019 Scholarship โดยที่ทุนนี้เป็นทุนที่ให้เราได้ไปเรียนภาษาโปแลนด์ รวมถึงวัฒนธรรมแบบฟรีๆ พร้อมมีที่พัก อาหาร รวมถึงค่าใช้จ่ายให้!

ยิ่งพอได้ไปงานที่จัดเกี่ยวกับทุนนี้ยิ่งทำให้เราอยากจะสมัคร ถึงแม้ว่าจะเจอคนเก่งๆ ที่มีความสนใจอยากจะสมัครเหมือนกันเยอะมาก แต่ตอนนั้นเราคิดแค่ว่าขอให้ได้ลองทำแบบเต็มที่ที่สุดจริงๆ เราไม่อยากเสียใจถ้าจะต้องเลิกความตั้งใจกลางคัน

ความจริงจังของเรานั้นเริ่มตั้งแต่การหาอาจารย์เพื่อเขียน recommendation letter ให้ โดยเราได้คุยกับอาจารย์ทั้งหมด 3 ท่าน ซึ่งตอนนั้นเรารู้สึกว่ามันยากมากๆ สำหรับเด็กปี 2 ที่ยังเรียนเซครวมและไม่ได้สนิทกับอาจารย์คนไหนเป็นพิเศษ แต่ขอบคุณเพื่อนตั้งแต่วัยเด็กอย่างจูเนียร์มากๆ ที่ทำให้เราได้คุยกับอาจารย์และได้มีจดหมายยื่นเพื่อขอทุนนี้ รวมถึงเรายังได้ขอให้พี่คนนึงชาวโปแลนด์ที่ได้รู้จักกันก่อนหน้านี้ในโปรแกรมที่มาเลเซียมาเขียนจดหมายให้เราอีกด้วย ซึ่งพี่เขาก็ยินดีที่จะเขียนให้ เราขอขอบคุณทุกๆ คนจากใจที่ได้ช่วยเหลือเราแบบเต็มที่มาก

ความจริงจังต่อมาคือการเก็บเงิน ตั้งแต่เราสมัครทุนนี้ เราหาเงินจากการทำงานระหว่างเรียนได้เท่าไหร่ เราเก็บทั้งหมดเลย เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อที่อยากจะซื้อตั๋วเครื่องบินและทำวีซ่าแบบไม่ต้องขอเงินแม่ ถือเป็นครั้งแรกเลยที่เรามีวินัยในการเก็บเงินขนาดนี้55555555

ตกใจมากตอนเห็นอีเมลว่าได้ทุนนี้

สุดท้าย เราได้เป็นตัวสำรองสำหรับทุนนี้ ซึ่งตอนนั้นก็เสียใจนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าทำเต็มที่แล้ว เราเลยตัดสินใจไปบ้านป้าที่ออสเตรเลียเพื่อใช้เวลาช่วงปิดเทอมแทน แต่คือเมื่อเราอยู่ที่ออสเตรเลียแล้ว ทางโรงเรียนภาษาที่นั่นพึ่งส่งอีเมลมาว่าเราได้ไปและได้อยู่ที่เมือง Lublin ซึ่งสวยมาก ทำให้เราอดไปเพราะทำเรื่องไม่ทัน อย่างไรก็ตามทุนนี้ทำให้เราได้พิสูจน์ความตั้งใจของตัวเองมากๆ ในการจะทำอะไรอย่างจริงจังและเชื่อมั่นในตัวเอง ถึงไม่ใช่วันนี้แต่สักวันต้องเจอกัน ยุโรป :)

Lesson 4: Australia trip

key learning: to rest and to understand

หลังจากที่เราคิดว่าจะไม่ได้ไปโปแลนด์ เราเลยตัดสินใจที่จะให้เวลากับตัวเองในการไปเที่ยวที่บ้านป้าที่ออสเตรเลีย 1 เดือน ซึ่งการมาเที่ยวครั้งนี้ทำให้เราได้เข้าใจว่าการหยุดพักมันมีความสุข ชีวิตเราก่อนหน้านี้เหมือนวิ่งแข่งกับความต้องการของตัวเองตลอดเวลา การได้ตื่นมาทำอาหาร ได้ทานข้าวเช้าพร้อมกัน มันเป็นสิ่งที่เติมเต็มชีวิตได้ไม่น้อยไปกว่าการทำงานเลย

ทริปออสเตรเลียครั้งที่ 4 ในช่วงหน้าหนาว

อีกทั้งการมาเที่ยวครั้งนี้ สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือการได้ดูโลมาและวาฬในทะเลครั้งแรกในชีวิตที่ Byron Bay ซึ่งไม่ใช่ว่าลงเรือออกไปแล้วจะได้เจอเลย แต่ต้องรอเวลาและโอกาส ในตอนนั้นเราได้รอถึง 2 ชั่วโมงเพื่อที่จะได้ดูน้องวาฬ การได้เจอวาฬทำให้เรารู้สึกว่าการรอคอยนั้นคุ้มค่าแค่ไหนและมีความสุขอย่างไร

photo from Wild Byron
photo from Wild Byron

ถ้าว่าไปแล้ววาฬก็เปรียบเหมือนโอกาส ที่เราต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อจะได้เจอและคว้าโอกาสนั้น แต่บางครั้งแค่พร้อมอาจจะไม่พอ ต้องรอให้ถึงเวลาของมันด้วย การแล่นเรือออกไปไกลเกินไป อาจทำให้เราคลาดกับวาฬตัวใหญ่ได้ การหยุดพักและเริ่มมองรอบๆ ตัวอย่างใส่ใจบ้าง อาจทำให้วาฬที่เราต้องการเข้ามาใกล้ในแบบที่เราไม่คิดไม่ฝันก็ได้

Lesson 5: The 2nd Be Young! Beyond! Startup Bootcamp ประเทศไต้หวัน

key learning: friendship

สิ่งที่ 5 ที่เราได้ทำในปีนี้คือ การไป startup bootcamp ที่ประเทศไต้หวัน ซึ่งขอบอกว่ามันดีมาก เพราะไปฟรี อยู่ฟรี อาหารฟรี เดินทางฟรี และที่สำคัญคือเพื่อนๆคนไต้หวันน่ารักมาก ซึ่งสำหรับรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับแคมป์นี้ถ้าใครสนใจ เราขอแปะเป็นวีดีโอด้านล่างนี้

รายละเอียดการสมัครและรีวิว
Vlog ของเราระหว่าง Bootcamp

แต่สิ่งที่เราอยากพูดถึงมากกว่าคือการได้ออกมารู้จักกับเพื่อนๆ ชาวต่างชาติคือสิ่งที่เราชอบมาก ไม่ใช่แค่ชอบที่ได้รู้จักคน แต่ชอบที่ได้เรียนรู้ความแตกต่างของคน ชอบการได้คุยถึงเรื่องต่างๆ เช่น การฟังเพลง การได้พูดคุยถึงเครื่องสำอางค์ที่ใช้ หรือแม้แต่ดาราไทยหรือหนังไทยที่พวกเขาชอบ บทสนทนาเหล่านี้ถึงแม้จะดูไม่ได้เป็นสาระ ทว่ามันกลับเป็นสิ่งที่ทำให้เราเรียนรู้และรู้จักกันได้มากขึ้น รวมถึงได้ใช้ภาษาเดียวกันคือ “การหัวเราะ”

การมาไต้หวันในครั้งนี้สิ่งที่เราดีใจมากที่สุดไม่ใช่แค่การได้รางวัล แต่การได้ทำงานกับทีม การได้เพื่อนที่สนิทเพิ่มขึ้นมา เป็นสิ่งที่เราดีใจและรู้สึกว่าคุ้มค่าที่สุดที่ได้มาในครั้งนี้

Lesson 6: Founder Apprentice Outing

key learning: reunion

จากโครงการฝึกงานตั้งแต่ช่วงปีหนึ่งขึ้นปีสองของเรา วันนี้ผ่านมาจะสองปีแล้วกับ Founder Apprentice ซึ่งเป็นโครงการที่ทำให้เราได้เจอเพื่อนดีๆ และหลากหลาย ที่ดีใจที่สุดคือเรายังได้ keep in touch กันอยู่เรื่อยๆ ไปงานนี้เจอเพื่อนคนนี้ ไปงานนั้นเจอคนนู้น และที่สำคัญคือปีนี้เราได้ไปเที่ยวทะเลด้วยกันครั้งแรก!

2 วัน 1 คืนกับงาน Founder Apprentice Outing ครั้งนี้ ถึงแม้จะเป็นแค่ 2 วันที่เราได้เจอกัน แต่การได้กลับมาเจอกันมันเป็นเหมือนการรีชาร์จตัวเองในหลายๆ ด้าน รวมถึงได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนๆ ได้เล่น ได้หัวเราะ ได้เรียนรู้ชีวิตกันและกัน เป็นอีกหนึ่งสิ่งของปีนี้ที่เราจะไม่ลืมเลย

Lesson 7: Youth Co:Lab Thailand 2019

key learning: initiation

หลังจากที่เราได้กลับมาจาก Founder Apprentice Outing เราก็มีแรงบันดาลใจ ที่นำมาสู่บทเรียนที่ 7 ของเรานั่นคือโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 โดย UNDP ซึ่งเป็นโครงการที่ให้เราได้ส่งไอเดียเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งปีนี้มีตีมว่า Respect Differences Embrace Diversity และเป็นครั้งแรกที่เราได้ทำงานส่งโครงการแบบนี้ร่วมกับเพื่อนสนิทในกลุ่มมหาลัยทั้งแพร เตย และแอม (หลังจากที่อยู่ด้วยกันมา 3 ปี555555)

ที่พิเศษคือเราได้ทำไอเดียเกี่ยวข้องการเมือง ชื่อว่า I KAN ซึ่งเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยที่เราได้หยิบความรู้ทางรัฐศาสตร์มาใช้ในการสร้างไอเดียในครั้งนี้ด้วย เป็นครั้งแรกเลยที่คิดว่าสิ่งที่เรียนมามีประโยชน์ เพราะหลายๆ อย่างที่ได้เรียนมันค่อนข้างนามธรรม แต่การได้มาทำโปรเจคนี้กับเพื่อนๆ คือมีความสุขมาก สนุกกว่าทำเปเปอร์ที่มหาลัยเป็นไหนๆ รวมถึงพวกเรายังได้รางวัลที่ 3 ด้วย ภูมิใจในตัวของเพื่อนๆ และทีมของพวกเรามากๆ

ซึ่งจะว่าไปแล้ว ในความเป็นจริง พื้นที่ของเด็กรัฐศาสตร์ที่จะออกมาใช้ความรู้มาทำเป็นโปรเจคจริงๆ มีไม่มาก หรือแม้แต่ในสังคมของเรา เราก็ยังรู้สึกว่า political tech มีน้อยมาก ซึ่งเราเชื่อว่าถ้ามีการออกแบบหลักสูตรดีๆ และมีพื้นที่รวมถึงการสนับสนุนที่มากกว่านี้ เราอาจจะเห็นไอเดียใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงการเมืองให้ดีขึ้น และเกิดเป็น political disruption ในประเทศของเราก็ได้

Lesson 8: North trip

key learning: bonding

ส่งท้ายปลายปีนี้ด้วยการไปเที่ยวภาคเหนือ ซึ่งเป็นบทเรียนที่ 8 ของเราสำหรับปีนี้ เราได้ใช้เวลาไปเที่ยวกับแม่ที่เชียงรายและเชียงใหม่ ซึ่งเราเก็บเป็นวีดีโอมาฝากด้วย

จริงๆ แล้วอาจจะดูว่าเป็นการเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่เราคิดว่าการใช้เวลาร่วมกันเป็นเรื่องที่สำคัญ ถึงแม้เราจะเป็นแม่ลูกกัน แต่การได้มีเวลาเติมเต็มความหวานในแบบแม่ลูกสำหรับเราก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้ความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ เลย

ในวันที่ช่องว่างระหว่างวัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การใส่ใจและปรับตัวเข้าหากันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งนอกจากจะให้แม่เรียนรู้เกี่ยวกับเราแล้ว เราเองก็คงต้องพยายามเรียนรู้แม่ให้มากขึ้นด้วย การไปเที่ยวในที่ใหม่ๆ ทำในสิ่งใหม่ๆ นอกจากได้พักผ่อนแล้ว ยังทำให้เรารู้จักกันในมุมต่างๆ มากขึ้น เหมือนเป็นการรีเฟรชความสัมพันธ์ให้ใกล้กันมากขึ้นอีกด้วย

Lesson 9: Relationship

key learning: spending time together

สิ่งสุดท้ายที่เราอยากพูดถึงสั้นๆ ก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ ปีนี้เป็นปีที่เราได้กลับมาใช้เวลากับเพื่อนๆ และครอบครัวเยอะขึ้นมาก เราคิดว่าการได้ให้เวลาและใช้เวลาร่วมกัน เป็นสิ่งที่ง่าย แต่ทำได้ยากที่สุด

แต่เราอยากให้ช่วงเวลาวัยรุ่นของเรา ก่อนที่จะโตเป็นผู้ใหญ่จริงๆ ได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่ากับทั้งเพื่อนและครอบครัวมาก ก่อนที่เวลาในชีวิตจะหมดไปกับเรื่องงาน การได้ใช้เวลาไปร้องคาราโอเกะ ทานข้าว หรือเดินเล่นด้วยกัน ทำให้ปีนี้ชีวิตเรามีสีสันและอบอุ่นขึ้นอย่างบอกไม่ถูก ดีใจที่ได้เจอทุกๆ คนและหวังว่าปีหน้าเราจะมีเวลาที่ได้หัวเราะและมีความสุขด้วยกันอีก

สุดท้ายนี้ก่อนจบบทความ เราขอให้โรงเรียนอนุบาล 2019 ของเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการแชร์ประสบการณ์และความรู้สึกของเราต่อปีนี้ แน่นอนว่าปีนี้มีวันที่เราร้องไห้ เสียใจ แต่เราเชื่อว่ามีความที่เรายิ้มมากว่าแน่ๆ และขอบคุณทุกๆ คนที่เป็นส่วนหนึ่งในนั้น แล้วพบกันใหม่ในปีต่อๆ ไป

สุขสันต์วันปีใหม่ค่ะ :D

--

--